วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560

นิทานเวตาล(เรื่องที่10)

นิทานเวตาล(เรื่องที่10)


ความเป็นมา
                นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
                  ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
                   นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่

ประวัติผู้แต่ง
            พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า น.ม.ส. ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า) รัชนีแจ่มจรัส

ลักษณะคำประพันธ์
           นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า สำนวน น.ม.ส.

เรื่องย่อ
                    ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
   ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร

เนื้อเรื่อง
          เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าเขม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง แลตาก็มืดมัวเหมือนลางไม่ดีเสียแล้ว  แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องจริงถวาย แลเหตุที่ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ต้องถูกแบกหามไปหามมา
           ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
            ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร
      ครั้นกษัตริย์ทั้งสององค์ทรงกระทำสัญญาแบ่งนางกันดังนี้แล้ว ก็ชักม้าตามรอยเท้านางเข้าไปในป่า
       พระราชากับพระราชบุตรก็เชิญนางทั้งสองขึ้นบนหลังม้าองค์ละองค์ นางพระบาทเขื่องคือพระราชธิดาขึ้นทรงม้ากับท้าวจันทรเสน นางพระบาทเล็กคือพระมเหสีขึ้นทรงช้างกับพระราชบุตร สี่องค์ก็เสด็จเข้ากรุง
          กล่าวสั้นๆ ท้าวจันทรเสน แลพระราชบุตรก็ทำวิวาหะทั้งสองพระองค์ แต่กลับคู่กันไป คือพระราชบิดาวิวาหะกับพระราชบุตรี  พระราชบุตรวิวาหะกับพระมเหสี แลเพราะเหตุที่คาดขนาดเท้าผิด ลูกกลับเป็นเมียพ่อ แม่กลับเป็นเมียลูก ลูกกลับเป็นแม่เลี้ยงของผัวตัวเอง แลแม่กลับเป็นลูกสะใภ้ของผัวแห่งลูกตน
         แลต่อมาบุตรแลธิดาก็เกิดจากนางทั้งสอง แลบุตรแลธิดาของนางทั้งสองก็มีบุตรแลธิดาต่อๆกันไป
         เวตาลเล่ามาเพียงครู่หนึ่ง แล้วกล่าวต่อไปว่า
      “บัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพลลูกพระมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวจันทรเสนนั้น จะนับญาติกันอย่างไร
       พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาก็ทรงตรึกตรองเอาเรื่องของพ่อกับลูก  แม่กับลูก แลกับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนำซ้ำมาเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัว  แลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า
           พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก พอนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาลไปส่งคืนโยคีนั้นจะสำเร็จก็ด้วยไม่ทรงตอบปัญหา จึงเป็นอันทรงนิ่งเพราะจำเป็นแลเพราะสะดวก  ก็รีบสาวก้าวดำเนินเร็วขึ้น
           ครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่ จะรับสั่งอะไรไม่ได้ ก็ทรงกระแอม
           เวตาลทูลถามว่า
          รับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ
          พระราชาไม่ทรงตอบว่ากระไร เวตาลก็นิ่งครู่หนึ่งแล้วทูลถามว่า
           บางมีพระองค์จะโปรดฟังเรื่องสั้นๆ อีกสักเรื่องหนึ่งกระมัง
          ครั้งนี้แม้แต่กระแอม พระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม เวตาลจึ่งกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า
         เมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึงเพียงนี้ บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรงแก้ปัญหาได้บ้างกระมัง

โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติ เป็นวรรณกรรมประเภทคำสอน ในลักษณะของโคลงสุภาษิต คำว่า โลกนิติ (อ่านว่า โลก-กะ-นิด) แปลว่า ระเบียบแบบแผนแห่งโลก
เนื้อหาในโคลงโลกนิติจึงมุ่งแสดงความจริงของโลกและสัจธรรมของชีวิต เพื่อให้ผู้อ่านได้รู้เท่าทันต่อโลก และเข้าใจในความเป็นไปของชีวิต พร้อมเป็นแม่แบบเพื่อให้ผู้อ่านได้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกต้องดีงามสืบไป
โคลงโลกนิติมีความไพเราะเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและเนื้อหาปรัชญาสาระ ครบคุณค่าทางวรรณกรรม ทำให้เป็นที่แพร่หลายในหมู่คนทั่วไป บางท่านกล่าวยกย่องโคลงโลกนิติว่าเป็น อมตะวรรณกรรมคำสอน หรือ ยอดสุภาษิตอมตะ[1], ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นบทอ่านในหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียนนักศึกษาอยู่ทุกยุคสมัย และได้รับการจัดให้

ประวัติ

  • สำนวนเก่า
โคลงโลกนิติเชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยนักปราชญ์ในสมัยนั้นได้คัดเลือกหาคาถาสุภาษิตภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ เช่น คัมภีร์โลกนิติคัมภีร์ธรรมนีติคัมภีร์ราชนีติหิโตปเทศธรรมบท และ พระไตรปิฎก เป็นต้น มาถอดความแล้วเรียบเรียงแต่งเป็นโคลงโลกนิติ
  • ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ฯ) ในปี พ.ศ. 2374 ก็มีดำริให้จารึกวิชาการสาขาต่างๆ ไว้บนแผ่นศิลาที่ประดับไว้ตามเสาหรือกำแพงพระวิหาร ในการนี้จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนเดชอดิศร (ต่อมาได้ดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร) ทรงชำระโคลงโลกนิติของเก่าให้ประณีตไพเราะยิ่งขึ้น เพื่อจารึกไว้ในคราวเดียวกัน
จำนวนโคลงโลกนิติที่ปรากฏต้นฉบับในสมุดไทยมีทั้งสิ้น 408 บท แต่ที่จารึกไว้ในวัดพระเชตุพนฯ แผ่นละบท มี 435 แผ่น (รวมโคลงนำ 2 บท) คาดว่ามีโคลงที่แต่งเพิ่มเติมเพื่อให้พอดีกับพื้นที่จารึก
  • ฉบับชำระ ภายหลังมีการรวบรวม สอบทาน และจัดพิมพ์เผยแพร่โคลงโลกนิติ ดังนี้
    • หนังสือสอนอ่านฯ สุภาสิตโลกนิติ์คำโคลง รวบรวม สอบทาน และจัดพิมพ์โดยกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ เมื่อปี พ.ศ. 2447 เพื่อใช้เป็นหนังสือแบบเรียนสำหรับนักเรียน โดยนำโคลงที่สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ทรงชำระไว้ 408 บท ที่ปรากฏในต้นฉบับสมุดไทย (รวมโคลงนำ 2 บท โคลงส่งท้าย 2 บท และโคลงที่ซ้ำกันอยู่ 5 บท) มาพิมพ์ร่วมกับโคลงอีก 30 บท ที่พบในแผ่นศิลาวัดพระเชตุพนฯ
    • ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติจัดพิมพ์โคลงโลกนิติที่เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร ร่วมกับโคลงโลกนิติสำนวนเก่าที่มีการค้นพบเป็นจำนวนมากจากหอพระสมุดวชิรญาณ พร้อมระบุคาถาอันเป็นที่มาของโคลง และจัดรวบรวมกันเป็นชุดๆ ได้โคลงภาษิตรวม 593 ชุด จำนวน 911 บท (ไม่รวมโคลงนำ 2 บท และโคลงส่งท้าย 2 บท) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2460
    • ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับกรมวิชาการ เป็นฉบับที่คณะกรรมการคัดสรรและเผยแพร่วรรณกรรมของชาติ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ นำต้นฉบับ หนังสือสอนอ่านฯ สุภาสิตโลกนิติ์คำโคลง และ ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ มาสอบทาน แก้ไขอักขระ ตัดโคลงที่ซ้ำซ้อน เพิ่มเติมคาถา จัดทำคำอธิบายศัพท์ และจัดหมวดหมู่ใหม่ในโคลงบางชุด ทำให้ได้โคลงภาษิตรวม 594 ชุด จำนวน 902 บท (รวมโคลงนำ 2 บท และโคลงส่งท้าย 4 บท) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2543

รูปแบบของหนังสือประชุมโคลงโลกนิติ[แก้]

ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับกรมวิชาการ
หนังสือประชุมโคลงโลกนิติ[2] ขึ้นต้นด้วยโคลงนำ 2 บท คือ
 
 อัญขยมบรมนเรศเรื้องรามวงศ์
พระผ่านแผ่นไผททรงสืบไท้
แสวงยิ่งสิ่งสดับองค์โอวาท
หวังประชาชนให้อ่านแจ้งคำโคลง
 
 ครรโลงโลกนิตินี้นมนาน
มีแต่โบราณกาลเก่าพร้อง
เป็นสุภสิตสารสอนจิต
กลดั่งสร้อยสอดคล้องเวี่ยไว้ในกรรณ
 
จากนั้น จะแยกโคลงออกเป็นชุดๆ แต่ละชุดมีส่วนประกอบดังนี้
  • ตัวเลขลำดับกำกับชุด
  • คาถา โดยชุดที่มีคาถา จะเขียนคาถาไว้ที่ต้นบท พร้อมชื่อคัมภีร์อันเป็นที่มาของคาถานั้น
    • ถ้าโคลงชุดนี้ไม่มีคาถา จะเขียนว่า ไม่พบคาถา
  • อ้างอิงท้ายคาถา (ถ้ามีคาถา)
    • แหล่งที่มา เช่น คัมภีร์โลกนิติ, คัมภีร์ธรรมนีติ, คัมภีร์ราชนีติ, หิโตปเทศ, ธรรมบท, พระไตรปิฎก
    • ถ้าไม่พบที่มาของคัมภีร์ จะเขียนว่า ไม่ปรากฏที่มา
  • ตัวโคลง
  • อ้างอิงท้ายโคลง
    • โคลงสำนวนเก่า จะเขียนว่า สำนวนเก่า
    • โคลงพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (จารึกวัดพระเชตุพนฯ) จะเขียนว่า สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร
ตัวอย่าง
โคลงชุดที่ 170 เป็นดังนี้
 
170.
ปฐพฺยา มธุรา ติณีอุจฺฉุ นารี สุภาสิตํ
อุจฺฉุนารีสุ ตปฺปนฺติน ตปปติ สุภาสิตํ
ไม่ปรากฏที่มา
 
 รสหวานในโลกนี้มีสาม
หญิงรูปบริสุทธิ์งามอีกอ้อย
สมเสพรสกลกามเยาวโยค
หวานไป่ปานรสถ้อยกล่าวเกลี้ยงไมตรี
สำนวนเก่า
 
 หวานใดในโลกนี้มีสาม สิ่งนา
หวานหนึ่งคือรสกามอีกอ้อย
หวานอื่นหมื่นแสนทรามสารพัด หวานเอย
หวานไป่ปานรสถ้อยกล่าวเกลี้ยงคำหวาน
สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร

หนังสืออื่นที่มีที่มาจากคัมภีร์โลกนิติ

นอกจากโคลงโลกนิติสำนวนเก่า และโคลงโลกนิติในพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศรแล้ว ยังมีหนังสืออีกหลายเล่มที่มีที่มาจาก คัมภีร์โลกนิติ (กล่าวคือ มีที่มาเดียวกับโคลงโลกนิติ ไม่ใช่แต่งไปจากโคลงโลกนิติ) ได้แก่
ประพันธ์โดยขุนสุวรรณสารวัด เมื่อปี พ.ศ. 2385 เป็นคำฉันท์จำนวน 265 บท ตามคาถาของคัมภีร์โลกนิติ
  • โคลงโลกนิติ จากหนังสือวชิรญาณ เล่ม 2 จ.ศ. 1247
เป็นการรวบรวมคัมภีร์โลกนิติ ฉบับภาษาบาลี ซึ่งมี 7 กัณฑ์ โคลงโลกนิติ พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ พระยาเดชาดิศร และโคลงโลกนิติ ที่เข้าใจว่าเป็นสำนวนของพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) เข้ามารวมพิมพ์ไว้ในเล่มเดียวกัน
ประพันธ์และเรียบเรียงโดยพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) โดยจัดทำเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาบาลี ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จำแนกเนื้อหาออกเป็น 7 กัณฑ์ ตามคัมภีร์โลกนิติ รวมมีทั้งสิ้น 167 คาถา พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2461
ถอดคำประพันธ์ของคัมภีร์โลกนิติทั้ง 7 กัณฑ์ ออกเป็นร้อยแก้วภาษาไทย โดย แสง มนวิทูร มีทั้งสิ้น 158 คาถา
  • โลกนิติ - สุตวัฑฒนนีติ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ราชบัณฑิตยสถานได้ชำระและแปลคัมภีร์โลกนิติและคัมภีร์สุตวัฑฒนนีติ ออกเป็น 4 ภาษา คือ ภาษาบาลี ภาษาบาลีเขียนเป็นอักษรโรมัน ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ รวมมีทั้งสิ้น 167 คาถา พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540

ไกรทอง

ไกรทอง

    ไกรทอง เป็นนิทานพื้นบ้านภาคกลางของไทย ที่มีตัวเอกชื่อ ไกรทอง เล่าไว้หลายสำนวนด้วยกัน ภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทละครสำหรับละครนอก และได้รับความนิยม ยกย่องเป็นฉบับมาตรฐานฉบับหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องราวความรักเกี่ยวกับคนและจระเข้

เรื่องย่อ

ภาพการชิงตัวตะเภาแก้ว และตะเภาทอง ของชาละวัน ที่วัดอัมพวันเจติยาราม
กาลครั้งหนึ่ง มีถ้ำแก้ววิเศษเป็นที่อยู่ของจระเข้(ใต้) ในถ้ำมีลูกแก้ววิเศษที่ส่องแสงดุจเวลากลางวัน จระเข้ทุกตัวที่เข้ามาในถ้ำจะกลายเป็นมนุษย์ มีท้าวรำไพ เป็นจระเข้เฒ่าผู้ทรงศีล ไม่กินเนื้อมนุษย์และสัตว์ มีบุตรชื่อ ท้าวโคจร ซึ่งนิสัยแตกต่างจากพ่อโดยสิ้นเชิงท้าวโคจรมีบุตรชื่อ ชาละวัน วันหนึ่ง ท้าวโคจร เกิดทะเลาะวิวาทกับท้าวแสนตาและพญาพันวัง(เหนือ) ท้าวโคจรโกรธที่ท้าวแสนตาฆ่าลูกน้องของตนจึงเข้ามาขอท้าสู้ แต่ท้าวแสนตาก็ไม่อาจสู้กำลังของท้าวโคจรได้ พญาพันวังโมโหที่ท้าวโคจรฆ่าพี่ชายของตนจึงขึ้นมาสู้กับท้าวโคจร สุดท้ายทั้งสามก็จบชีวิตลงจากบาดแผลที่เกิดจากการสู้รบกัน
หลังจากนั้น พญาชาละวัน บุตรของท้าวโคจร ก็ได้ขึ้นเป็นผู้ปกครองถ้ำบาดาลโดยไม่มีใครกล้าท้าทายอำนาจ และได้จระเข้สาวสองตัวเป็นเมียคือ วิมาลา กับ เลื่อมลายวรรณ ด้วยความลุ่มหลงในอำนาจ ชาละวันจึงมีนิสัยดุร้ายต้องการกินเนื้อมนุษย์ และไม่รักษาศีลเหมือนท้าวรำไพผู้เป็นปู่แต่อย่างใด เพราะถือว่าตนเป็นผู้ปกครองถ้ำ มีอำนาจอยากจะทำอะไรก็ได้
ณ เมืองพิจิตร มีเหตุการณ์จระเข้อาละวาดออกมากินคนที่อยู่ใกล้คลอง วันหนึ่ง พี่น้องคู่หนึ่ง ชื่อนางตะเภาแก้ว ผู้พี่ และนางตะเภาทอง ผู้น้อง ทั้งสองเป็นธิดาของเศรษฐี อยากที่จะลงไปเล่นน้ำที่คลอง เศรษฐีห้ามแต่สองพี่น้องก็ยังรบเร้าที่จะไปโดยบอกว่ามีพี่เลี้ยงลงไปด้วย เศรษฐีจึงใจอ่อนยอมให้ตะเภาแก้วและตะเภาทองลงไปเล่นน้ำ ในเวลานั้น ชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นจระเข้ยักษ์นิสัยอันธพาล ได้ออกจากถ้ำอาละวาดล่าหามนุษย์เป็นเหยื่อ สร้างความวุ่นวายไปทั่วเมือง และได้ว่ายน้ำผ่านมาเห็นตะเภาทองที่แม่น้ำแถวบ้านท่านเศรษฐี ก็เกิดความลุ่มหลงทันทีจึงคาบตะเภาทองแล้วดำดิ่งไปยังถ้ำทองด้วยความเหิมลำพอง
เมื่อนางตะเภาทองฟื้นขึ้นมา ก็ตกตะลึงในความสวยของถ้ำ และได้เห็นพญาชาละวัน ซึ่งกลายร่างเป็นชายรูปงาม ชาละวันเกี้ยวพาราสีแต่นางไม่สนใจ ชาละวันจึงใช้เวทมนตร์สะกดให้นางหลงรักและยอมเป็นภรรยา เมียของชาละวันคือ วิมาลา และเลื่อมลายวรรณ เห็นก็ไม่พอใจและหึงหวงแต่ก็ห้ามสามีไม่ได้
ท่านเศรษฐีเสียใจมาก จึงประกาศไปว่าใครที่พบศพนางตะเภาทอง และสามารถปราบจระเข้ตัวนี้ได้จะมอบสมบัติของตนเองให้ครึ่งหนึ่ง และจะให้แต่งงานกับนางตะเภาแก้ว แต่ไม่ว่าจะมีผู้มีอาคมอาคมมาปราบชาละวันกี่คน ก็จะตกเป็นเหยื่อให้ชาละวันเอาไปนั่งกินเล่นทุกราย และแล้วก็ได้ ไกรทอง หนุ่มรูปหล่อจากเมืองนนทบุรี ซึ่งได้ร่ำเรียนวิชาการปราบจระเข้จากอาจารย์คง จนมีความเก่งกล้า ฤทธิ์อาคมแกร่ง ได้รับอาสามาปราบชาละวัน
ก่อนพบเจอเหตุร้าย ชาละวันได้นอนฝันว่า มีไฟลุกไหม้และน้ำท่วมทะลักเข้าถ้ำ เกิดแผ่นดินไหวแปรปรวน ทันใดนั้น ได้ปรากฏร่างเทวดาฟันคอชาละวันขาดกระเด็น จึงได้นำความฝันไปบอกกล่าวกับปู่ท้าวรำไพ เพราะเหตุการณ์ในความฝันเป็นลางร้าย ชาละวันต้องจำศีลในถ้ำ 7 วัน ถ้าออกไปนอกถ้ำจะพบภัยพิบัติถึงชีวิต วิมาลาจึงรับสั่งให้บริวารจระเข้คาบก้อนหินมาปิดปากถ้ำเอาไว้ เพื่อไม่ให้มนุษย์เข้ามาในถ้ำ
รุ่งเช้าไกรทองเริ่มตั้งพิธีบวงสรวงพร้อมท่องคาถา ทำให้ชาละวันเกิดอาการร้อนรุ่ม วิมาลาได้แต่คอยปลอบใจให้ชาละวันอดทนเข้าไว้ แต่สุดท้ายชาละวันก็ต้องออกจากถ้ำ แปลงกายเป็นจระเข้ขึ้นมาบนผิวน้ำเพื่อต่อสู้กับไกรทอง การต่อสู้ของคนกับจระเข้จึงเริ่มขึ้นไกรทองกระโดดขึ้นบนหลังจระเข้ชาละวันอย่างรวดเร็วและแทงด้วยหอกสัตตโลหะ ทำให้อาคมของเขี้ยวเพชรเสื่อม หอกอาคมได้ทิ่มแทงชาละวันจนบาดเจ็บสาหัส และมันได้รีบหนีกลับไปที่ถ้ำทองทันที
แต่ไกรทองก็ใช้เทียนระเบิดน้ำเปิดทางน้ำ ตามลงไปที่ถ้ำทันที วิมาลาและเลื่อมลายวรรณต้องการของร้องให้ปู่ท้าวรำไพช่วย แต่ท้าวรำไพก็ไม่สามารถช่วยได้ เมื่อมาถึงถ้ำไกรทองได้พบกับ วิมาลา ด้วยความเจ้าชู้จึงเกี้ยวพาราสีจนนางใจอ่อนยอมเป็นชู้ จนนางตกใจวิ่งหนีเข้าถ้ำ ไกรทองจึงตามนางไป ส่วนชาละวันที่นอนบาดเจ็บอยู่ก็รีบออกมาจากที่ซ่อนตัวและได้ต่อสู้กับไกรทองต่อในถ้ำ จนชาละวันสู้ไม่ไหวในที่สุดก็พลาดเสียท่าถูกแทงจนสิ้นใจตายตรงนั้น (บางสำนวนก็บอกว่า ชาละวันถูกหอกอาคมของไกรทองแทงกลางหลัง แล้วร่างก็เปลี่ยนเป็นจระเข้ยักษ์นอนตายอยู่กลางถ้ำทอง) และไกรทองก็ได้พานางตะเภาทองกลับขึ้นมา เศรษฐีดีใจมากที่ลูกสาวยังไม่ตาย จึงจัดงานแต่งงานให้ไกรทองกับนางตะเภาแก้ว พร้อมมอบสมบัติให้ครึ่งหนึ่ง แถมนางตะเภาทองให้อีกคน
ใจของไกรทองกลับนึกถึงนางวิมาลา จึงไปหาอยู่กินด้วย โดยทำพิธีทำให้นางยังคงเป็นมนุษย์แม้ออกนอกถ้ำทอง นางตะเภาแก้วและนางตะเภาทอง จับได้ว่า สามีไปมาหาสู่ นางจระเข้จึงไปหาเรื่องกับนางในร่างมนุษย์จนนางวิมาลาทนไม่ไหวกลับ ร่างเป็นจระเข้และไกรทองต้องออกไปห้ามไม่ให้เมียตีกันและอำลาจากนางวิมาลาด้วยใจอาวรณ์ สุดท้ายไกรทองก็ปรับความเข้าใจได้กับทั้งสองฝ่าย ทั้งมนุษย์และจระเข้อยู่อย่างสันติ

ตำนานจระเข้ชาละวัน

ชาละวัน เป็นจระเข้ใหญ่เลื่องชื่อแห่งแม่น้ำน่านเก่าเมืองพิจิตร สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นในสมัยที่พิจิตรมีเจ้าเมืองปกครอง ตามตำนานกล่าวว่า มีตายายสองสามีภรรยา ออกไปหาปลาพบไข่จระเข้ที่สระน้ำแห่งหนึ่ง จึงเก็บมาฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงไว้ในอ่างน้ำ เพราะยายอยากเลี้ยงไว้แทนลูก ต่อมาจระเข้ตัวใหญ่ขึ้นจึงนำไปเลี้ยงไว้ในสระใกล้บ้านหาปลามาให้เป็นประจำ ต่อมาตายายหาปลามาให้เป็นอาหารไม่พออิ่ม จระเข้ตัวนั้นจึงกินตายายเป็นอาหาร เมื่อขาดคนเลี้ยงดูให้อาหาร จระเข้ใหญ่จึงออกจากสระไปอาศัยอยู่ในแม่น้ำน่านเก่าซึ่งอยู่ห่างจากสระตายายประมาณ 500 เมตร
แม่น้ำน่านเก่าในสมัยนั้นยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ปลานานาชนิดและมีน้ำบริบูรณ์ตลอดปี ขณะนั้นไหลผ่านบ้านวังกระดี่ทอง บ้านดงเศรษฐี ล่องไปทางใต้ ไหลผ่านบ้านดงชะพลู บ้านคะเชนทร์ บ้านเมืองพิจิตรเก่า บ้านท่าข่อย จนถึงบ้านบางคลาน จระเข้ใหญ่ก็เที่ยวออกอาละวาดอยู่ในแม่น้ำตั้งแต่ย่านเหนือเขตวังกระดี่ทอง ดงชะพลู จนถึงเมืองเก่า แต่ด้วยจระเข้ใหญ่ของตายายได้เคยลิ้มเนื้อมนุษย์แล้ว จึงเที่ยวอาละวาดกัดกินคนทั้งบนบกและในน้ำไม่มีเว้นแต่ละวัน จึงถูกขนานนามว่า "ไอ้ตาละวัน" ตามสำเนียงภาษาพูดของชาวบ้านที่เรียกตามความดุร้ายที่มันทำร้ายคน ไม่เว้นแต่ละวัน ต่อมาก็เรียกเพี้ยนเสียงเป็น "ไอ้ชาละวัน" และเขียนเป็น "ชาลวัน" ตามเนื้อเรื่องในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ชื่อของชาละวันแพร่สะพัดไปทั่วเพราะเจ้าชาละวันไปคาบเอาบุตรสาวคนหนึ่งของเศรษฐีเมืองพิจิตรขณะกำลังอาบน้ำอยู่ที่แพท่าน้ำหน้าบ้าน เศรษฐีจึงประกาศให้สินบนหลายสิบชั่ง พร้อมทั้งยกลูกสาวที่มีอยู่อีกคนหนึ่งให้แก่ผู้ที่ฆ่าชาละวันได้ ไกรทอง พ่อค้าจากเมืองล่าง สันนิษฐานว่าจากเมืองนนทบุรี รับอาสาปราบจระเข้ใหญ่ด้วยหอกลงอาคมหมอจระเข้ ถ้ำชาละวันสันนิษฐานว่าอยู่กลางแม่น้ำน่านเก่า ปัจจุบันอยู่ห่างจากที่พักสงฆ์ถ้ำชาละวัน บ้านวังกระดี่ทอง ตำบลย่านยาว ไปทางใต้ประมาณ 300 เมตร ทางลงปากถ้ำเป็นโพรงลึกเป็นรูปวงกลมมีขนาดพอดี จระเข้ขนาดใหญ่มากเข้าได้อย่างสบาย คนรุ่นเก่าได้เล่าถึงความใหญ่โตของชาละวันว่า เวลามันอวดศักดาลอยตัวปริ่มน้ำขวางคลอง ลำตัวของมันจะยาวคับคลอง กล่าวคือ หากหัวอยู่ฝั่งนี้ หางจะอยู่อีกฝั่ง เรื่องชาละวันเป็นเรื่องที่เลื่องลือมาก จนพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกเรื่อง "ไกรทอง" และให้นามจระเข้ใหญ่ว่า "พญาชาลวัน"

เรื่องเล่านายไกรทอง ชาวเมืองนนทบุรี

ส่วนนายไกรทองหมอปราบจระเข้ สันนิษฐานตามหลักฐานว่า เป็นบุคคลที่มาจากเมืองนนทบุรี ประกอบอาชีพค้าขายทางน้ำ และเคยรับอาสาปราบจระเข้ยักษ์ที่คร่าคนในพิจิตร และภายหลังชาวเมืองนนทบุรีได้ทราบข่าวการสร้างวีรกรรมปราบจระเข้ที่เมืองพิจิตร และได้สร้างศาสนสถานขึ้นคือ วัดบางไกรใน เพื่อเป็นเกียรติแก่ความหาญกล้าของไกรทอง

นิทานเวตาล(เรื่องที่10)

นิทานเวตาล(เรื่องที่10) ความเป็นมา                 นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของ...